Pages

Friday, September 11, 2020

สหกรณ์ยางบึงกาฬแจง ปม โรงงานแปรรูป ชี้เหตุ ขั้นตอนราชการ - มติชน

tosokpopo.blogspot.com

สหกรณ์ยางบึงกาฬแจง ปมโรงงานแปรรูปžชี้เหตุขั้นตอนราชการž

เมื่อไม่นานมานี้มีการเผยแพร่ข่าวสาร กรณีการก่อสร้าง โรงงานแปรรูปยางพารา จ.บึงกาฬŽ ภายใต้งบประมาณกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบนกว่า 193 ล้านบาท ซึ่งแล้วเสร็จตามข้อกําหนดของผู้ว่าจ้าง (ทีโออาร์) ทว่า ในสัญญากลับไม่ครอบคลุมถึงระบบไฟฟ้า และบ่อบำบัดน้ำเสีย กลายเป็นความติดขัด นำไปสู่การเสนอเป็นข่าวสารต่างๆ

ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬจำกัด และผู้เกี่ยวข้องจึงชี้แจงแถลงความจริง ให้ประชาชนสิ้นข้อสงสัย

เกษตร สิทธิไกรพงษ์ ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ ชี้แจงว่า เมื่อปี 2559 ชุมนุมสหกรณ์ฯได้ระดมทุนและกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างโรงงานสำหรับผลิตหมอนยางพารา โดยโรงงานแรกที่ก่อสร้างขึ้นเป็นที่ของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 250-500 ใบต่อวัน
ทั้งนี้ ชุมนุมสหกรณ์ฯได้ขอกู้เงินกองทุนเพื่อแปรรูปยางพาราตามนโยบายรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำยางข้น ซึ่งจะเป็นโรงงานที่มีผลต่อราคาการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรทันที หากดำเนินการได้ และจะสามารถเป็นโรงงานที่ผลิตวัตถุดิบ (น้ำยางข้น) เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป

ขณะเดียวกัน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และความเดือดร้อนของประชาชน จึงนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไขต่อกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเมื่อปี 2560

“ด้วยความโชคดีของพี่น้องเกษตรกรชาวบึงกาฬ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณสำหรับดำเนินการก่อสร้างโรงงานตามที่กลุ่มจังหวัดอีสานตอนบนเสนอไป พร้อมระบุไว้ในโครงการว่า สถานที่ดำเนินการคือที่ดินของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด เลขที่ 245 หมู่ 4 ต.ท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ ส่วนที่มีหลายคนสงสัยว่า เมื่อไหร่โรงงานที่สร้างใหม่จะรับซื้อผลผลิตพี่น้องเกษตรกร ขอกราบเรียนว่า โรงงานที่สร้างขึ้นโดยงบประมาณของรัฐบาลนั้น อำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้าง กำกับ ควบคุมดูแลล้วนอยู่ในความรับผิดชอบของราชการ ชุมนุมสหกรณ์ฯมิใช่หน่วยงานราชการ ไม่ได้มีอำนาจเข้าไปควบคุม กำกับ ดูแลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแต่อย่างใดŽ” นายเกษตรชี้แจง

ขณะนี้โรงงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย 1.โรงงานผลิตหมอนยางพารา 2.โรงงานผลิตที่นอนยางพารา 3.โรงงานผลิตอัดก้อนยางพารา 4.โรงงานผลิตน้ำยางข้น และ 5.โรงงานผลิตเศษยางพาราเป็นแผ่นเครฟ ก่อสร้างเสร็จสิ้นตามทีโออาร์แล้ว พร้อมได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมธนารักษ์ให้ชุมนุมสหกรณ์ฯเข้าใช้ และดำเนินการต่างๆ ในโรงงานแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา

ภายหลังได้รับมอบหมายได้ประสานไปที่หน่วยงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่โรงงานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดการเดินเครื่องจักรให้ได้ ซึ่งขณะนี้ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด ได้ขอรับเงินอุดหนุนไปที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เรียบร้อยแล้ว หากได้รับงบประมาณมาคาดว่าจะใช้เวลา 2-3 เดือน จะสามารถเดินเครื่องจักรได้

”อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปดูวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด คือเพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำต่อเนื่อง พร้อมให้เกษตรกรชาวสวนยางปรับเปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายผลผลิตเชิงคุณภาพ จากการขายยางก้อนถ้วยเป็นน้ำยางสด โดยวิธีการรับซื้อจะมีการวัดค่าเปอร์เซ็นต์น้ำยางแห้ง หรือ DRC (Dry Rubber Content) ขณะเดียวกัน ชาวสวนยางต้องมีการรวมกลุ่ม เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเพิ่มมูลค่า เช่น หมอนและที่นอนยางพารา อุปกรณ์ด้านการเกษตร อุปกรณ์เด็กเล่น”Ž นายเกษตรระบุ

ด้าน ชูศักดิ์ สุทธศรีŽ ผู้จัดการโรงงานฝ่ายผลิตหมอนและที่นอน ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด เสริมว่า การทำทีโออาร์ของโครงการนี้ขึ้นอยู่กับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยราชการของจังหวัดบึงกาฬเป็น

ผู้ลงนาม ไม่เกี่ยวกับชุมนุมสหกรณ์ฯ แต่อย่างใด ดังนั้น การเร่งรัดหรือติดตามผู้รับเหมาให้มาทำการก่อสร้าง ชุมนุมสหกรณ์ฯจึงทำไม่ได้ อีกทั้งงบประมาณเกี่ยวกับ บ่อบำบัดน้ำเสียŽ ถูกตัดไป เนื่องจากจัดซื้อจัดจ้างไม่ทัน

”ยืนยันว่า ผู้ตรวจบัญชีสหกรณ์บึงกาฬได้เข้ามาตรวจสอบและรับรองงบดุลให้ทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด ทุกปี เราโปร่งใส ไม่มีการทุจริตแน่นอน ทุกท่านสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ นอกจากนี้ โครงการทั้งหมดนี้ก็ไม่เกี่ยวข้องกับนายนิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ.บึงกาฬ และ อบจ.บึงกาฬ ทว่า เป็นทางชุมนุมสหกรณ์ฯที่เข้าไปขอการสนับสนุนด้านต่างๆ อาทิ ประสานงานการเดินระบบไฟฟ้าŽ ชูศักดิ์ยืนยันความโปร่งใส”

ขณะที่ นิพนธ์ คนขยันŽ นายก อบจ.บึงกาฬ ชี้แจงสั้นๆ แต่ชัดเจนว่า การที่ อบจ.บึงกาฬ เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากกฎหมายกระจายอำนาจระบุชัดเจนว่า อบจ.ต้องสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร วันนี้ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วว่าชุมนุมสหกรณ์ฯต้องการขอรับการสนับสนุนเรื่องระบบไฟฟ้า ซึ่งเราได้ดำเนินการแล้ว ขณะเดียวกันยังเชิญกลุ่มสตรีแม่บ้านมาอบรมฝีมือ ตัดเย็บปลอกหมอนยางพารา เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ พร้อมส่งเสริมให้เป็นกลุ่มอาชีพในอนาคต

ด้าน พินิจ จารุสมบัติŽ อดีตรองนายกฯ และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด ชี้แจงปิดท้ายว่า ได้เล็งเห็นว่าการแปรรูปผลิตผลด้านการเกษตรเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาความยากจน แก้ปัญหาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาประเทศ ตัวอย่างเช่น ชาวนาประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีการปลูกข้าว แต่ก็ไม่ได้ขายข้าวเพียงอย่างเดียว ยังมีการแปรรูปข้าวให้กลายเป็น สาเกŽ เมื่อเทียบกับตอนเป็นข้าวเปลือก 1 เกวียน ราคา 12,000 บาท แต่พอเป็นสาเก 1 ขวด ราคาสูงถึง 15,000 บาท ดังนั้น หากเกษตรกรไทยนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปได้จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม แก้ปัญหาเรื่องค่าตอบแทนได้ในระดับหนึ่ง

ชาวสวนยางพาราไทยสามารถนำผลิตผลมาแปรรูปได้เช่นกัน เช่น วันนี้ขายน้ำยางดิบได้กิโลกรัมละ 20 บาท แต่ถ้านำน้ำยางดิบแปรรูปเป็นน้ำยางข้นก็จะมีมูลค่าเพิ่มอีกเกือบ 10 บาท ยิ่งไปกว่านั้นชุมนุมสหกรณ์ฯยังสามารถแปรรูปเป็นหมอนยางพารา เพิ่มมูลค่าได้อีกหลายเท่า ทำให้ผมสนับสนุนเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นชาวสวนยางบึงกาฬหรือจังหวัดอื่นๆ พร้อมทั้งผลักดันให้โครงการเหล่านี้ไปถึงภาครัฐ

บึงกาฬ เรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของยางพาราภาคอีสาน เป็นจังหวัดที่ประสบความสำเร็จในการปลูกยาง ช่วยให้เศรษฐกิจในจังหวัดดีขึ้น แม้จะเจอการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก็ไม่เป็นปัญหา เกษตรกรยังสามารถกรีดยาง ขายน้ำยางได้

”อย่างไรก็ตาม โครงการโรงงานแปรรูปที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดปัญหากระบวนการทำงานระบบราชการ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่จำเป็นต้องแก้ต่อไป ซึ่งเร็วๆ นี้จะสะท้อนไปถึงนายกฯ ครม. และผู้ว่าการ กยท.ให้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ในฐานะที่ปรึกษาก็ได้ให้กำลังใจและหาเครือข่ายตลาด พร้อมมุ่งเป้าหมายไปที่ตลาดประเทศจีน ซึ่งไม่นานมานี้ก็มีเรื่องน่ายินดี เพราะได้มีการพูดคุยกับลาซาด้า ในการเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าหมอนและที่นอนให้กับชุมนุมสหกรณ์ฯ เพื่อให้ปัญหาทั้งหมดกระจ่างแจ้ง ทุกฝ่ายจึงจำเป็นต้องทราบข้อเท็จจริง พร้อมเร่งทบทวนและแก้ไขการทำงานเป็นการด่วน”Ž พินิจสรุป

Let's block ads! (Why?)


September 12, 2020 at 09:46AM
https://ift.tt/3hkrnAF

สหกรณ์ยางบึงกาฬแจง ปม โรงงานแปรรูป ชี้เหตุ ขั้นตอนราชการ - มติชน
https://ift.tt/2XPOc7E
Home To Blog

No comments:

Post a Comment