วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ พร้อมด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ฯ กรมศิลปากร ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบชั้นสีบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พอวิเคราะห์และสรุปได้ดังนี้
ชั้นของสีที่ทาทับบนบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน
ชั้นที่ 1 อิพ็อกซี่หรือเรซิ่น เพื่อปรับผิวให้เรียบมีความหนาบางต่างกัน
ชั้นที่ 2 สีน้ำมันสีแดง มีลักษณะบาง
ชั้นที่ 3 สีน้ำมันสีดำ ปิดทับเพื่อรอการเขียนลายรดน้ำใหม่
กระบวนการขัดลอกสีที่ทาทับ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือชั้นที่ 1 อิพ็อกซี่หรือเรซิ่น เพราะเป็นวัสดุที่ไม่มีตัวทำละลาย และหากปล่อยไว้จะทำปฏิกิริยากับอากาศทำให้แข็งตัว จับยึดแน่นกับภาพลายรดน้ำเดิม แต่ยังไม่เซ็ทตัว มีการทาสีน้ำมันแดงและดำปิดทับ กลายเป็นฟิล์มไม่ให้ชั้นนี้ถูกอากาศและแข็งตัว จึงพอที่จะลอกสีออกมาได้ เวลาดำเนินการจะต้องประคองการที่จะไม่ให้เรซิ่นแข็งตัวเร็วขึ้น คือต้องค่อยๆลอกสีที่ปิดทับอยู่ทีละส่วน ไม่ลอกออกทีเดียวทั้งหมด
ตอนนี้กำลังทดสอบน้ำยาเคมีหลาย ๆ ตัว เพื่อเลือกใช้ตัวที่มีประสิทธิภาพและป้องกันรักษาชั้นสีเดิมของลายรดน้ำบนบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน
ที่มา : สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
July 30, 2020 at 12:53PM
https://ift.tt/3jWk1We
สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ แจงขั้นตอน ขัดลอกสีที่ทาทับ ลายรดน้ำบนบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน - เชียงไหม่นิวส์
https://ift.tt/2XPOc7E
Home To Blog
No comments:
Post a Comment