Pages

Monday, September 21, 2020

'ไอลอว์' ชี้ ขั้นตอนทางเทคนิคไม่ควรเป็นอุปสรรค หลัง 'ชวน' บอกนำร่าง รธน. 1 แสนชื่อเข้าสภาไม่ทัน - มติชน

tosokpopo.blogspot.com

‘ไอลอว์’ ชี้ ขั้นตอนทางเทคนิคไม่ควรเป็นอุปสรรค หลัง ‘ชวน’ บอกนำร่าง รธน. 1 แสนชื่อเข้าสภาไม่ทัน

เมื่อวันที่ 22 กันยายน โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ เผยแพร่คำชี้แจง หลังนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ข้อเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาได้ทัน ในวันที่ 23-24 กันยายน ซึ่งรัฐสภามีวาระพิจารณาข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอมาจากทั้งพรรคฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล

ดังนี้ ไอลอว์ในฐานะผู้รับผิดชอบรวบรวมรายชื่อประชาชน ขอชี้แจงกับผู้เข้าชื่อกว่า 100,000 คน ดังนี้

1.เราใช้เวลาในการรวบรวมเอกสารเข้าชื่อทั้งหมด 43 วัน ซึ่งถือว่า เร็วมากๆ ภายใต้ข้อจำกัดที่ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่ถูกต้อง และลงลายมือชื่อด้วยกระดาษปากกา ไม่สามารถส่งผ่านช่องทางออนไลน์ได้

ภารกิจในการรวบรวมเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดการงานหลังบ้าน จัดทำโดยอาสาสมัครรวมแล้วกว่า 200-300 คน ที่ทำงานอย่างหนักและทำอย่างดีที่สุดตลอดเดือนเศษๆ ที่ผ่านมา จนกระทั่งได้ยอดเอกสารที่ครบถ้วนสมบูรณ์มาเกิน 100,000 รายชื่อ ซึ่งมากกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดกว่าสองเท่า ไม่มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนครั้งใดสามารถทำได้เสร็จสิ้นรวดเร็วเท่านี้มาก่อน

ดังนั้น ประเด็นข้อกังวลในขั้นตอนของทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ว่า เมื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วอาจเหลือรายชื่อไม่เพียงพอ จึงไม่น่ากังวลแม้แต่น้อย เพราะหากมีเอกสารบางฉบับที่ไม่สมบูรณ์ก็ยังมีเอกสารที่สมบูรณ์เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดอีกมาก

2.วันนี้ประชาชนกว่า 100,000 คนได้แสดงออกซึ่ง “เจตจำนง” แล้วว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ต้องการ “รื้อ” ระบอบอำนาจของ คสช. “สร้าง” หนทางกลับสู่ประชาธิปไตย และเปิดทางให้เกิดการ “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ซึ่งเจตจำนงนี้ ทั้งสมาชิกรัฐสภาและสาธารณะได้รับรู้รับทราบแล้ว แต่การจะบรรจุเข้าในวาระการพิจารณาได้ทันหรือไม่นั้นเป็นประเด็นทาง “เทคนิค” ในขั้นตอนการทำงานของระบบราชการเท่านั้น

ซึ่งขั้นตอนทางเทคนิคไม่ควรเป็นอุปสรรค ทำให้เจตจำนงของประชาชนถูกทอดทิ้งไป หากทางรัฐสภาจริงใจที่จะรับฟังข้อเสนอจากประชาชน ก็เป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่จะแก้ปัญหาทางเทคนิคเพื่อรับพิจารณาข้อเสนอชุดนี้เพื่อดำเนินการไปพร้อมกับข้อเสนอจากพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งมีทางเลือกอยู่หลายช่องทาง เช่น การลงมติงดใช้ข้อบังคับบางประการเพื่อรับพิจารณาข้อเสนอของประชาชนก่อน หรือการเร่งตรวจสอบรายชื่อให้เร็วที่สุดแล้วเปิดสมัยประชุมวิสามัญพิเศษขึ้นเพื่อพิจารณาข้อเสนอของประชาชนได้

3.รัฐธรรมนูญ 2560 ได้สร้างโครงสร้างทางการเมืองที่ผิดปกติ สร้างระบอบทางการเมืองเพื่อสืบทอดอำนาจให้ คสช. อันนำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชน จนกระทั่งเกิดการชุมนุมบนท้องถนนของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนหลากหลายกลุ่มในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เพียงขาดกลไกที่หาทางแก้ไขปัญหา แต่ยังเป็นตัวปัญหาที่สร้างความขัดแย้งทางการเมืองเสียเอง

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้ จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เท่านั้น และโดยเร็วที่สุด ซึ่งวันนี้ประชาชนมากกว่า 100,000 คน ได้ช่วยกันเสนอทางแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นข้อเสนอตามระบบบกฎหมายที่มีอยู่ โดยอาศัยโครงสร้างของรัฐสภาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะหาทางออก หากรัฐสภาไม่พิจารณาข้อเสนอของประชาชนในครั้งนี้ เท่ากับเป็นการแสดงออกว่า การแก้ไขปัญหาไม่สามารถเดินหน้าด้วยกลไกที่มีอยู่ได้ และบีบบังคับให้ประชาชนที่ต้องการออกจากระบอบการเมืองแบบที่เป็นอยู่ต้องเลือกเส้นทางการต่อสู้บนท้องถนนเท่านั้น

ซึ่งเท่ากับเป็นการเลือกเส้นทางท้องถนน โดยคนที่มีอำนาจ ไม่ใช่โดยประชาชน

Let's block ads! (Why?)


September 22, 2020 at 11:07AM
https://ift.tt/369IL9p

'ไอลอว์' ชี้ ขั้นตอนทางเทคนิคไม่ควรเป็นอุปสรรค หลัง 'ชวน' บอกนำร่าง รธน. 1 แสนชื่อเข้าสภาไม่ทัน - มติชน
https://ift.tt/2XPOc7E
Home To Blog

No comments:

Post a Comment