โดยปกติแล้ว งานวิจัยจะมีขั้นตอนที่ยาวนาน จำเป็นต้องใช้ความรอบคอบในการศึกษา และข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะต้องผ่านการตรวจสอบหลายครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ก่อนที่จะส่งรายงานการวิจัยให้กับวารสารทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทำการตีพิมพ์และเผยแพร่ต่อไป อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดใหญ่ของโรค “โควิด-19” กลับทำให้ขั้นตอนการศึกษาวิจัยที่ต้องใช้เวลานาน ถูกย่นระยะเวลาลงเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมในการทำความรู้จักโรคอุบัติใหม่นี้
ขณะที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ทางการ แพทย์ ผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปต่างพยายามแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว เว็บไซต์มากมายนำเสนอบทความทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ผ่านการตรวจทานผลงานจากคณะผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียด แม้การตรวจทานจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ แต่ความต้องการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ก็ทำให้ขั้นตอนการตรวจทานผลงานทางวิทยาศาสตร์ถูกลดลงให้เหลือเพียงไม่กี่วัน
ความกดดันที่จะตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ก่อให้เกิดการปะทะของ 2 ฝั่ง นั่นคือ ฝั่งที่ต้องการให้นำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการตรวจสอบมาอย่างดี และฝั่งที่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็วและสามารถนำมาใช้ได้จริง ในช่วงเวลาการระบาดใหญ่ที่น่าเศร้าเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม การรีบร้อนสรุปผลและนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรค นำไปสู่การสร้างความสับสนให้กับประชาชนทั่วไป เช่น ในวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ประกาศว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในมนุษย์ โดยไม่แสดงอาการใด ๆ ถือเป็นอาการที่ “หายากมาก” แต่ก็ยอมรับในวันถัดมา ว่าการสรุปผลดังกล่าว ถือเป็น “ความเข้าใจผิด” และอ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น ความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโรค จากผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ เป็นเหตุผลหลักที่ประชาชนควรทำการรักษาระยะห่างทางสังคมและแนะนำให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
คำแนะนำทางสาธารณสุขที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง เกิดจากการเก็บข้อมูล การจัดจำแนกและการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สำหรับแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ความกดดันที่จะจัดการกับโรคระบาดจึงมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากวิธีการรักษาที่พวกเขามองหาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ก็อาจจะไม่ใช้วิธีการที่ชัดเจน หรือเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพราะขั้นตอนการตรวจสอบที่ถูกร่นระยะเวลาขึ้นมาและอาจมีข้อผิดพลาด
อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคโควิด-19 ก็อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้รวดเร็ว สามารถส่งมอบข้อมูลที่เชื่อถือได้และจำเป็นให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การสนับสนุนให้นักวิจัยแบ่งปันข้อมูลที่พวกเขาใช้ในการศึกษาอย่างเปิดเผย พร้อมกับอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ เป็นต้น
July 13, 2020 at 11:44AM
https://ift.tt/3fzL8nq
“ยิ่งเร่ง ยิ่งไร้ประสิทธิภาพ” งานวิจัย “โควิด-19” ที่เร็วเกินไป อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด ๆ - Sanook
https://ift.tt/2XPOc7E
Home To Blog
No comments:
Post a Comment