Pages

Monday, September 7, 2020

เปิด7ขั้นตอนตอบโต้อุบัติภัยสารเคมี กทม.ตั้งทีมปฏิบัติการพิเศษระงับเหตุ - เดลีนีวส์

tosokpopo.blogspot.com
กรุงเทพมหานคร เป็นอีกหน่วยงานที่ต้องเตรียมพร้อมในการเผชิญเหตุให้รวดเร็ว ปลอดภัย จึงต้องมีทีมเฉพาะกิจ ที่มีผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ถูกฝึกมาเป็นอย่างดี รวมถึงมีอุปกรณ์ที่พร้อมในการดำเนินการ

ดร.ไพฑูรย์ งามมุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตดอนเมือง  อดีตหัวหน้าฝ่ายจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กทม. ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมี สารพิษ ของกทม. ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวชุมชนเมือง-เดลินิวส์ ว่า การจัดการความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในโรงงาน และสถานประกอบการที่มีสารเคมีและวัตถุอันตราย เบื้องต้นคือ ต้องสื่อสารความเสี่ยงให้คนในโรงงาน ได้รับรู้ถึงความอันตรายของสารเคมีชนิดต่างๆ ที่อยู่ในโรงงานว่า อันตรายในระดับใด นั่นคือต้องรู้จัก Hazard Rating

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงระดับความอันตราย ของสารเคมีชนิดต่างๆ ว่ามีอันตรายต่อสุขภาพในระดับใด มีความไวในการทำปฏิกิริยาทางเคมีระดับใด อาทิ เกิดการระเบิดได้หรือไม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ (Safety Officer)หรือจป. ของโรงงาน หรือสถานประกอบการนั้นๆจะต้องรู้ และประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นได้ รวมถึงเป็นผู้ให้ข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เข้าไประงับเหตุ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ประมวลผลข้อมูลและสั่งการในการระงับเหตุต่อไป

กรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ความสำคัญกับการป้องกันและระงับเหตุสารเคมีและวัตถุอันตราย จึงได้จัดฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ทีมตอบโต้อุบัติภัยสารเคมีและวัตถุอันตรายกรุงเทพมหานคร หรือ BMA Hazmat Team ( Hazardous Material Team ) ขึ้น โดยเป็นเจ้าหน้าที่จากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในสังกัดต่างๆ ของกทม. ประกอบด้วย สำนักอนามัย สำนักงานเขต สำนักการแพทย์ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักสิ่งแวดล้อม ซึ่ง BMA Hazmat Team ได้เริ่มจัดตั้งเป็นทีมขึ้นเมื่อปี 2551 ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมรวมประมาณ 500 คน  โดยฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ในสังกัดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการระงับเหตุอุบัติภัยที่เกิดจากสารเคมีและวัตถุอันตราย

แบ่งผู้รับการฝึกออกเป็น 4 ระดับ ระดับที่ 1 การตอบโต้อุบัติภัยสารเคมีเบื้องต้น หลักสูตร 1 วัน โดยผู้รับการฝึกจะสามารถแจ้งเหตุ เข้าใจสัญลักษณ์อันตรายของสารเคมี และใช้ข้อมูลการตอบโต้เบื้องต้น  ระดับที่ 2 ระดับปฏิบัติการ ผ่านการอบรมระดับเบื้องต้นมาแล้ว หลักสูตร 3-5 วัน ผู้รับการฝึก จะสามารถเข้าระงับเหตุสารเคมีได้ ฝึกการใส่ชุดป้องกันสารเคมีและใช้อุปกรณ์การระงับเหตุสารเคมี ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ของสำนักป้องกันฯ ระดับที่ 3 ระดับเชี่ยวชาญ สามารถประเมินความเป็นอันตรายสารเคมีด้านสุขภาพ ไวไฟ และการทำปฏิกิริยาสารเคมีได้ และระดับที่ 4 ระดับจัดการเหตุการณ์ สามารถบัญชาการ สั่งการ ควบคุมเหตุการณ์

โดยที่ผ่านมา ทีมตอบโต้อุบัติภัยสารเคมีและวัตถุอันตรายกรุงเทพมหานคร หรือ BMA Hazmat Team ได้ออกปฏิบัติการภารกิจในหลายท้องที่ รวมถึงร่วมฝึกซ้อมตอบโต้อุบัติภัยสารเคมีระดับเขต เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายจากสถานประกอบการ

ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่ออีกว่า การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายให้ปลอดภัยนั้น เราจะดำเนินการตามหลัก 2P-2R คือระยะก่อนเกิดเหตุ จะต้องรู้ข้อมูลว่า มีสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อยู่บริเวณใด จัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายประเภทใด รวมถึงเตรียมบุคลากร และอุปกรณ์ที่จะใช้ระงับเหตุให้สอดคล้องกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่เมื่อมีอุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายเกิดขึ้นแล้ว การเข้าระงับเหตุ ด้วยความถูกต้อง แม่นยำ จึงเป็นสิ่งสำคัญ กทม. จัดทำแผนป้องกันอุบัติภัยสารเคมีและวัตถุอันตรายของกรุงเทพมหานคร และจัดฝึกซ้อมตอบโต้อุบัติภัยสารเคมีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้มีความเข้าใจในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ขณะเกิดเหตุต้องทำอย่างไร หลังเกิดเหตุต้องทำอย่างไร โดยจะจำลองเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆขึ้น ยกตัวอย่าง เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลจนลุกลามกลายเป็นอัคคีภัย

ขั้นตอนแรก หลังได้รับแจ้งเหตุ คือการจัดการที่เกิดเหตุและเข้าควบคุมพื้นที่ โดยรีบจัดตั้งกองอำนวยการส่วนหน้า ให้รวดเร็วที่สุด เพื่อหาข้อมูลและรวบรวบข้อมูล เตรียมส่งให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ใช้ประกอบการสั่งการ รวมถึงกั้นเขตอันตราย แบ่งเป็น Hot Zone ถ้าเหตุที่พบเป็นของแข็งและของเหลว กั้นในระยะ 50 เมตร แต่ถ้าเกิดเป็นก๊าซ กั้นพื้นที่ระยะ 100 เมตร และถ้ามีแนวโน้มจะระเบิด กั้นในระยะ 150 เมตร  Warm Zone สำหรับเจ้าหน้าที่ในการชำระล้างร่างกายหลังจากปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อย และ Cold Zone คือพื้นที่ปลอดภัย สำหรับพนักงานหรือประชาชนที่อยู่ในละแวกนั้น

ขั้นตอนที่ 2  เมื่อมีกองอำนวยการส่วนหน้า แล้วก็จะเป็นการบริหารและจัดการข้อมูล ที่ได้รับมา โดยผู้บัญชาการณ์ในขณะนั้น จะประเมินสถานการณ์และสั่งตอบโต้ตามข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งถ้าไม่รู้ข้อมูลก็จะสั่งการไม่ได้ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเสี่ยง จากข้อมูลของโรงงาน ทิศทางลม/แหล่งน้ำ และผู้ที่ได้รับผลกระทบ ขั้นตอนที่ 4 จัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล สำหรับเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าระงับเหตุก็จะเป็นชุดและหน้ากาก ที่ป้องกันสารเคมีได้ ส่วนผู้ได้รับผลกระทบซึ่งอยู่รอบนอก เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านสาธารณสุข จะต้องจัดเตรียมให้ อาทิ หน้ากากอนามัย  ขั้นตอนที่ 5 วางแผนและควบคุมเหตุการณ์ ขั้นตอนที่ 6 ชำระการปนเปื้อน หลังเจ้าหน้าที่เข้าไประงับเหตุสารเคมีรั่วไหลแล้ว จะต้องล้างตัวก่อนออกมาด้านนอกด้วยการล้างตัวผ่านน้ำ เพื่อไม่ให้สารเคมีแพร่กระจาย และขั้นตอนสุดท้าย การทบทวนและถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อเราเรียนรู้ขั้นตอนการตอบโต้อุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายแล้ว หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ด้านพัฒนาสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม จะยังต้องดำเนินการต่อ เพื่อฟื้นฟูและเยียวยา และควรดำเนินไปพร้อมกัน 3 ด้าน คือ คน โครงสร้าง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเมืองหรือชุมชน กลับมาใช้ชีวิตปกติอย่างรวดเร็ว

ดร.ไพฑูรย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีสารเคมีรั่วไหลและเราอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ วิธีเช็กตัวเองเบื้องต้นก็คือหากเราถูกสารเคมี จะมีอาการแสบหน้าและดวงตา แสบจมูกและแสบผิวหนัง เรียกอาการเหล่านี้ว่า การระคายเคือง แสดงว่าเราอยู่ในโซนปนเปื้อน ที่ไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย ให้รีบไปหาน้ำเปล่ามาล้างภายใน 15 วินาที และล้างหน้า ล้างตัวเป็นเวลานาน 15 นาที จากนั้นจึงไปพบแพทย์ แต่หากมีอาการเริ่มมึน วิงเวียนศีรษะ และหายใจไม่ออก ต้องได้รับการปฐมพยาบาลในทันที ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุ หากไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ถูกฝึกมาจนชำนาญ รวมทั้งไม่มีชุดและอุปกรณ์ป้องกัน เราจึงไม่ควรเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดการปนเปื้อนสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในชีวิต.

Cr. ขอบคุณภาพประกอบจาก : กลุ่มBMA Hazmat Team


 

Let's block ads! (Why?)


September 08, 2020 at 12:30PM
https://ift.tt/334M0vq

เปิด7ขั้นตอนตอบโต้อุบัติภัยสารเคมี กทม.ตั้งทีมปฏิบัติการพิเศษระงับเหตุ - เดลีนีวส์
https://ift.tt/2XPOc7E
Home To Blog

No comments:

Post a Comment