Pages

Saturday, June 6, 2020

กรมวิทย์ฯ เผยขั้นตอนตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันใน 'หนู' ที่ได้รับวัคซีน 'โควิด 19' - กรุงเทพธุรกิจ

tosokpopo.blogspot.com

7 มิถุนายน 2563

101

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยขั้นตอนการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบโควิด-19 เน้นย้ำถ้าเซรั่มในเลือดหนูทำให้มีการติดเชื้อลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าวัคซีนต้นแบบมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อโรคได้ ซึ่งวัคซีนต้นแบบนี้จะนำไปทดลองลิง และคนต่อไป

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันชีววัตถุ เป็นห้องปฏิบัติการในการควบคุมคุณภาพวัคซีนภาครัฐซึ่งองค์การอนามัยโลกให้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในระดับภูมิภาค สำหรับการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ในประเทศ กรมวิทย์ฯ ได้ช่วยตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ โดยวิธี plaque reduction neutralization test (PRNT) ซึ่งต้องทดสอบโดยใช้เชื้อไวรัสโควิด 19 ภายใต้ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 3 การทดลองโดยนำซีรั่มจากเลือดหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบมาเจือจางที่ระดับต่างๆกัน จากนั้นนำมาผสมกับไวรัสโควิด 19

159150001551

ก่อนนำไปใส่ลงในเซลล์แล้วนำไปบ่มในอุณหภูมิที่เหมาะสม นาน 6 วัน จากนั้นนำไปย้อมสีและตรวจนับจำนวนไวรัส ถ้าซีรั่มในเลือดไม่มีภูมิคุ้มกัน เซลล์ก็จะติดเชื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเซรั่มในเลือดมีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันเชื้อได้ ไวรัสที่อยู่ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อจะลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสามารถป้องกันโรคได้ดีหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนและยอมรับ

159150000356

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการดูภูมิคุ้มกันขึ้นดีหรือไม่ดีนั้น สามารถดูได้จากการเจือจางซีรั่ม ถ้าเจือจางมากและพบการทำลายเชื้อไวรัสโดยภูมิคุ้มกันในซีรั่มลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่ามีภูมิคุ้มกันสูงในหนู ซึ่งวัคซีนต้นแบบของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ส่งมาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจพบว่าสามารถเจือจางซีรั่มไปถึง 500 เท่า ยังสามารถทำลายเชื้อไวรัสได้ แสดงว่าในซีรั่มหนูมีภูมิคุ้มกันสูงต่อไวรัสโควิด 19 ขั้นตอนต่อไปวัคซีนต้นแบบนี้จะนำไปทดลองในลิงและในคนต่อไป

ส่วนในประเด็นเรื่องของการจะได้ใช้วัคซีนเมื่อไหร่นั้น เป็นเรื่องของอนาคตยังไม่สามารถตอบได้ ซึ่งบางประเทศรายงานเร็วที่สุดต้นปี 2564 บางประเทศรายงานปลายปี 2564 ซึ่งการวิจัยพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละขั้นตอนต้องทดสอบในสิ่งมีชีวิตทำให้ผลที่ได้มีความแปรปรวนของการทดสอบ จึงคาดการณ์ได้ยากว่าวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลนั้น จะสำเร็จได้เมื่อใด อย่างไรก็ตามเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีที่ไม่ได้เป็นรองนานาชาติมากนัก โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานภาคอุดมศึกษาต่างๆมีความพร้อม เพียงแต่เราไม่สามารถดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียวได้อย่างครบวงจร จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันในหลายภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด 19 จนประสบความสำเร็จได้

Let's block ads! (Why?)


June 07, 2020 at 10:22AM
https://ift.tt/2YcVAtG

กรมวิทย์ฯ เผยขั้นตอนตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันใน 'หนู' ที่ได้รับวัคซีน 'โควิด 19' - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2XPOc7E
Home To Blog

No comments:

Post a Comment